การประเมินมูลค่า

การประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของบางองค์ประกอบของ
ป่าดิบชื้น  กรณีศึกษา ป่ากราด อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา

ประภาพรรณ  กำภู

                    วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของป่ากราดโดยศึกษาลักษณะการใช้ประโยชน์ของทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่วิจัย และประเมินออกมาเป็นตัวเงิน ซึ่งการศึกษาดำเนินการโดยการวิจัยเชิงสำรวจ การเก็บข้อมูลปฐมภูมิดำเนินการโดยใช้แบบสอบถามจำนวน 3 ฉบับ คือ     1) แบบสอบถามผู้ใช้ประโยชน์จากป่ากราดด้านผลผลิตในรูปของของป่า จำนวน 247 ชุด 2) แบบสอบถามผู้ใช้ประโยชน์จากป่ากราดด้านการศึกษาวิจัย จำนวน 4 ชุด และ 3) แบบสอบถามผู้ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากป่ากราดเพื่อประเมินมูลค่าเผื่อจะใช้และมูลค่าการคงอยู่ของป่ากราด จำนวน 400 ชุด
                      การประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของป่ากราด ประกอบด้วยมูลค่าการใช้ประโยชน์และมูลค่าการมิได้ใช้ประโยชน์ ซึ่งมูลค่าการใช้ประโยชน์ทางตรง ได้แก่ 1) มูลค่าปริมาณไม้ ประกอบด้วยมูลค่าไม้ใหญ่ ทำการประเมินด้วยวิธีราคาตลาด และมูลค่าลูกไม้และกล้าไม้ ทำการประเมินด้วยวิธีต้นทุนทดแทน 2) มูลค่าผลผลิตในรูปของของป่า ทำการประเมินด้วยวิธีราคาตลาด และ 3) มูลค่าการศึกษาวิจัย ประเมินจากค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้น มูลค่าการใช้ประโยชน์ทางอ้อมจากป่ากราดในด้านการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ประเมินจากค่าใช้จ่ายในการป้องกัน (preventive expenditure) ส่วนมูลค่าเผื่อจะใช้ประโยชน์ในอนาคตจากป่ากราด ประเมินด้วยวิธี Contingent Valuation Method (CVM) โดยใช้คำถามแบบเปิด สำหรับมูลค่าการมิได้ใช้ประโยชน์ทำการประเมินเฉพาะมูลค่าการคงอยู่ โดยใช้วิธี CVM และใช้คำถามแบบเปิดเช่นเดียวกัน
                     ผลการประเมินมูลค่าพบว่า การใช้ประโยชน์จากป่ากราดด้านปริมาณไม้ ในปี 2543 กรณีไม้ใหญ่ มีมูลค่าสุทธิเท่ากับ 286,698,370.61 บาท กรณีลูกไม้และกล้าไม้ มีมูลค่าเท่ากับ 47,109,707.11 บาท การใช้ประโยชน์ในด้านผลผลิตในรูปของของป่า มีมูลค่าผลประโยชน์สุทธิรายปีเท่ากับ 675,045.01 บาทต่อปี การใช้ประโยชน์ด้านการศึกษาวิจัย มีมูลค่าเท่ากับ 791,813.82 บาท มูลค่าการใช้ประโยชน์ในด้านการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีมูลค่าเท่ากับ 3,615,945.36 บาทต่อปี ส่วนมูลค่าเผื่อจะใช้ มีมูลค่าความเต็มใจที่จะจ่ายเฉลี่ยเท่ากับ 141.77 บาทต่อคนต่อปี และมูลค่าการมิได้ใช้ประโยชน์ กรณีมูลค่าการคงอยู่ มีมูลค่าความเต็มใจที่จะจ่ายเฉลี่ย เท่ากับ 128.23 บาทต่อคนต่อปี


การประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ด้านการใช้ประโยชน์ทางตรงของป่าชายเลนโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนโคกพยอม  ตำบลละงู  อำเภอละงู  จังหวัดสตูล

ญัตติพงศ์  แก้วทอง

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของป่าชายเลนในชุม ชนโคกพยอม อำเภอละงู จังหวัดสตูล โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน และเพื่อส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้ในการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ของชุมชนโคกพยอม พื้นที่ป่าชายเลน 1,250 ไร่ โดยมีวิธีการประเมินมูลค่า ดังนี้ 1) มูลค่าปริมาณไม้ ประกอบด้วยมูลค่าไม้ใหญ่ ประเมินด้วยวิธีราคาตลาดและจากการเปรียบเทียบการผลิตถ่านจากเนื้อไม้ มูลค่าไม้หนุ่มและกล้าไม้ประเมินด้วยวิธีราคาตลาด 2) มูลค่าการใช้ประโยชน์ด้านการเก็บผลผลิตจากป่าและผลผลิตจากการประมงในบริเวณ ป่าชายเลนได้จากการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนโคก พยอม 132 ครัวเรือนและประเมินมูลค่าด้วยวิธีราคาตลาด   
 การส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้ในการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งมีแกนนำชุมชนจำนวน 30 คน เข้าร่วมโดยความสมัครใจ มีขั้นตอน ดังนี้ 1) การมีส่วนร่วมในการศึกษาข้อมูลพื้นฐานของชุมชน 2) การมีส่วนร่วมในการสร้างทีมวิจัยชุมชน โจทย์วิจัย และสร้างความเข้าใจร่วมกันในการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 3) การมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางด้านการประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ 4) การมีส่วนร่วมในการสำรวจปริมาณไม้ในป่าชายเลน 5) การมีส่วนร่วมในการสร้างเครื่องมือในการวิจัย 6) การมีส่วนร่วมในการเก็บข้อมูล 7) การมีส่วนร่วมวิเคราะห์ข้อมูล 8) การมีส่วนร่วมวางแผนการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์          
ผลการประเมินมูลค่าพบว่า มูลค่าสุทธิของปริมาณไม้ทั้งหมดในป่าชายเลนชุมชนโคกพยอมคำนวณด้วยราคาตลาด ท้องถิ่นของไม้ใหญ่ ไม้หนุ่มและกล้าไม้เท่ากับ 176,653,724.58   บาท หรือ 141,322.98 บาทต่อไร่ และมูลค่าสุทธิคำนวณด้วยราคาตลาดเปรียบเทียบจากการผลิตถ่านไม้ของไม้ใหญ่และราคาตลาดท้องถิ่นของไม้หนุ่มและกล้าไม้เท่ากับ 114,094,534.14 บาท หรือ 91,275.63 บาทต่อไร่ ูกบาศก์เมตรต่อไร่ และคาตลาด นบ ่วไปมูลค่าการใช้ประโยชน์ทางตรงของป่าชายเลน ประกอบด้วยมูลค่าการเก็บผลผลิตของป่าชายเลนเท่ากับ 469,498.75 บาทต่อปี หรือเฉลี่ยต่อครัวเรือนเท่ากับ 3,556.81 บาทต่อครัวเรือน และมูลค่าผลผลิตด้านการประมงในบริเวณป่าชายเลนเท่ากับ 4,822,290.29 บาทต่อปี หรือเฉลี่ยต่อครัวเรือนเท่ากับ 36,532.50 บาทต่อปีต่อครัวเรือน ต้นทุนรวมทั้งหมดของการใช้ประโยชน์ทางตรง เท่ากับ 2,838,354.19 บาทต่อปี หรือเฉลี่ยต้นทุนต่อครัวเรือนเท่ากับ 21,502.68 บาทต่อครัวเรือนต่อปี  สรุปมูลค่าสุทธิทั้งหมดของการใช้ประโยชน์ทางตรงเท่ากับ 2,838,354.19 บาทต่อปี หรือมีมูลค่าเท่ากับ 2,270.68 บาทต่อไร่ต่อปี หรือมีมูลค่าเฉลี่ยต่อครัวเรือนเท่ากับ 21,502.68 บาทต่อครัวเรือนต่อปี
          ผลการส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้ในการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุม ชนโคกพยอม พบว่า ชาวบ้านได้เข้ามามีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและ กัน ชาวบ้านรู้สึกความภาคภูมิใจในข้อมูลที่ตนเองร่วมกันแสดงความคิดเห็นซึ่งนำไป สู่ความรู้สึกรักและเป็นเจ้าของงานวิจัย รวมทั้งทีมวิจัยชุมชนได้รู้จักข้อมูลพื้นฐานของชุมชนตนเอง ทีมวิจัยชุมชนเข้าใจคุณค่าทางสิ่งแวดล้อมมากขึ้น คือ คุณค่าของป่าชายเลนมีประโยชน์ทางตรงและคุณค่าประโยชน์ทางอ้อม ทีมวิจัยทราบถึง วิธีการสำรวจต้นไม้ ชนิดพันธุ์ไม้ และจำนวนของต้นไม้ทั้งหมดในป่าชายเลน ส่งผลให้ทีมวิจัยชุมชนโคกพยอมทราบถึงศักยภาพของทรัพยากรป่าชายเลนในชุมชนว่า มีปริมาณไม้และมูลค่าของไม้ในป่าชายเลน ทีมวิจัยชุมชนสามารถนำหลักการการเก็บข้อมูลไปใช้ในการทำงานวิจัยในอนาคต ชุมชนเห็นศักยภาพของป่าชายเลนว่ามีผลประโยชน์เป็นอย่างมากต่อชุมชน ทำให้ชุมชนรักและหวงแหนป่าชายเลนของตนเอง ซึ่งจะนำไปสู่การจัดการโดยชุมชนเพื่อให้ประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้ทีมวิจัยต้องการจะให้ผลการวิจัยด้านมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของป่าชาย เลนเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ต้นทุนผลประโยชน์กับโครงการต่างๆ ที่อาจเกิดผลกระทบต่อป่าชายเลนของชุมชนโคกพะยอม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น