การใช้ประโยชน์

การประเมินมูลค่าทางเศรษฐกิจของศักยภาพการใช้ประโยชน์
พืชสมุนไพรในป่าชุมชนเขาหัวช้าง  
ตำบลตะโหมด  อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง 

ทิพย์ทิวา  สัมพันธมิตร 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินมูลค่าทางเศรษฐกิจของศักยภาพการใช้ ประโยชน์พืชสมุนไพรในป่าชุมชนเขาหัวช้าง ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับลักษณะการใช้ ประโยชน์ของทรัพยากรพืชสมุนไพรที่ใช้เป็นยารักษาโรคในเชิงเดี่ยวตาม ภูมิปัญญาท้องถิ่นจำนวน 149 ชนิด สามารถจัดแบ่งได้เป็น 32 กลุ่ม ตามสรรพคุณ รวมทั้งรวบรวมน้ำหนักและปริมาณตามแต่ละส่วนของพืชสมุนไพรที่มีการนำมาใช้ ประโยชน์ตามสรรพคุณด้วยวิธีชั่ง ตวง วัด นับ และการสอบถามประกอบการสัมภาษณ์จากผู้ใช้ประโยชน์โดยตรง และสำรวจข้อมูลราคาของยาแผนปัจจุบันที่ใช้รักษาโรคตามกลุ่มสรรพคุณของโรคที่ ตรงกับการรักษาด้วยพืชสมุนไพรจากร้านขายยาแผนปัจจุบันเมื่อเทียบประสิทธิภาพ ของการรักษา ยาแผนปัจจุบันแต่ละบริษัทที่ผลิตยามีราคาต่างกันจึงจัดแบ่งมูลค่าออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มยาที่มีราคาระดับกลางและกลุ่มยาที่มีราคาระดับสูง เพื่อนำข้อมูลทั้งหมดมาใช้ในการประเมินมูลค่าด้วยวิธีราคาตลาดทดแทนโดยใช้ ราคาสินค้าที่เกี่ยวข้องเป็นสินค้าทดแทน
ผลการประเมินมูลค่าของพืชสมุนไพรในป่าชุมชนเขาหัวช้างโดยใช้ราคายาแผนปัจจุบันทดแทนจากจำนวนพืชสมุนไพรทั้งหมด 149 ชนิด พบว่า ศักยภาพของพืชสมุนไพรที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อเป็นรักษาโรคมีมูลค่าเท่ากับ 1,117,135,906.40 บาทต่อปี และถ้าใช้ราคาในกลุ่มของยาแผนปัจจุบันที่มีราคาสูงมีมูลค่าเท่ากับ 1,755,706,571.56 บาท ต่อปี จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงว่าทรัพยากรพืชสมุนไพรที่มีในป่าชุมชนเขาหัว ช้างมีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง ดังนั้น จึงควรนำข้อมูลดังกล่าวนี้เข้าร่วมพิจารณาในการตัดสินใจอย่างรอบคอบหากจะมี การนำป่าแห่งนี้ไปใช้ประโยชน์ในทางเลือกอื่น ๆ

คุณค่าของผักพื้นบ้านสถานการณ์การใช้ประโยชน์ในปัจจุบันของชุมชนบ้านวังลุง 
ตำบลทอนหงส์  อำเภอพรหมคีรี  จังหวัดนครศรีธรรมราช

มลิมาศ   จริยพงศ์    

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาคุณค่าของผักพื้นบ้านโดยอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษา ลักษณะการใช้ประโยชน์ผักพื้นบ้านของชุมชนและคุณค่าของผักพื้นบ้านด้าน เศรษฐกิจ ด้านโภชนาการ และด้านสังคมวัฒนธรรมที่มีต่อชุมชน และ 2) ศึกษา สถานการณ์การใช้ประโยชน์ผักพื้น บ้านของชุมชนในปัจจุบัน ดำเนินการรวบรวมข้อมูลการใช้ประโยชน์ด้วยแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัย มี 77 ครัวเรือนจาก 703 ครัว เรือนยังเก็บหาผักพื้นบ้าน ในแหล่งเก็บหา โดยนำมารับประทานสดและปรุงเป็นอาหาร การใช้ประโยชน์ผักพื้นบ้านก่อให้เกิดคุณค่าของผักพื้น บ้าน 3 ด้านคือ คุณค่าด้านเศรษฐกิจของ 77 ครัวเรือนที่ช่วยประหยัดรายจ่ายได้ปีละ 2,355,042.33 บาท คิดเป็น มูลค่าเฉลี่ยต่อครัวเรือนเท่ากับ 30,584.52 บาทต่อปี คุณค่าด้านโภชนาการของผักพื้นบ้าน 16 ชนิด ช่วยบรรเทาอาการ จากโรคต่างๆ ของชาวบ้านได้ และพบวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับผักพื้นบ้านคือ วัฒนธรรมการบริโภคอาหารพื้นบ้าน วัฒนธรรมด้านภาษา และวัฒนธรรมด้านความเชื่อ ค่านิยม ประเพณีและพิธีกรรม สำหรับสถานการณ์การใช้ประโยชน์ ผักพื้นบ้านในปัจจุบันพบว่า มีการใช้ประโยชน์ลดลงจากการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจ และการประกาศเขตอุทยาน แห่งชาติ ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้นำไปใช้ในการจัดหาแนวทางของการจัดการผัก พื้นบ้านที่เหมาะสมต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น