การประเมินทางเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม

การ ประเมินทางเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมในการนำซากมูลฝอยเก่าจากบ่อผังกลบแบบถูก หลักสุขาภิบาลมาผลิตเป็นพลังงานมูลฝอยในพื้นที่จังหวัดสงขลาและพัทลุง

อริศรา  ร่มเย็น   

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการกำจัดมูลฝอยแบบเตาเผาโดยนำซาก มูลฝอยเก่าจากบ่อฝังกลบแบบถูกหลักสุขาภิบาลมาผลิตเป็นพลังงานมูลฝอย ในพื้นที่จังหวัดสงขลาและจังหวัดพัทลุง โดยวิธีการทางเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม โดยพิจารณาถึงผลกระทบวงนอกทั้งหมดและนำมากลั่นกรอง แล้วทำการประเมินมูลค่า เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์มาพิจารณาแนวทางในการเลือกวิธีการกำจัด มูลฝอยให้กับเทศบาลต่างๆ ตลอดจนความเหมาะสมของพื้นที่ของเทศบาลที่จะเข้าใช้บริการได้อย่างเหมาะสม  ผลการศึกษาพบว่า ซากมูลฝอยที่มีอายุฝังกลบ 7 ปีขึ้นไปมีความเหมาะสมที่จะนำมาเป็นเชื้อเพลิงมูลฝอย ซึ่งเตาเผาที่มีกำลังการเผา 250 ตันต่อวัน ตลอดโครงการ 20 ปี เมื่อรวมมูลค่าผลกระทบวงนอก มีมูลค่าปัจจุบันของต้นทุนทั้งหมดและผลประโยชน์ทั้งหมด เท่ากับ 2.55 พันล้านบาท และ 3.80 พันล้านบาท ตามลำดับส่วนมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) ณ ระดับอัตราคิดลดร้อยละ 12 ระยะเวลา 20 ปี เมื่อรวมต้นทุนและผลประโยชน์วงนอก มีมูลค่าเท่ากับ 1.24 พันล้านบาท ซึ่งมีค่าเป็นบวก และอัตราผลตอบแทนต่อค่าใช้จ่าย (BCR) เท่ากับ 1.49 หมาย ความว่ามีความคุ้มค่าเชิงเศรษฐศาสตร์ และเมื่อพิจารณาถึงความอ่อนไหวกรณีที่ไม่รวมผลกระทบวงนอก พบว่า โครงการไม่มีความคุ้มค่าเชิงเศรษฐศาสตร์ ส่วนกรณีที่รวมผลกระทบวงนอกพบว่า โครงการมีความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐศาสตร์ในทุกกรณี ยกเว้นกรณีที่ต้นทุนเพิ่มขึ้น 20% และผลประโยชน์ลดลง 20% ดัง นั้น เทศบาลนครสงขลาจึงน่าจะพิจารณาแนวทางในการกำจัดมูลฝอยแบบเตาเผา เพื่อผลิตพลังงานมูลฝอย ถึงแม้ว่าค่าใช้จ่ายของระบบเตาเผาสูงมาก แต่เมื่อเปรียบเทียบผลประโยชน์ทางอ้อมที่เกิดขึ้นกับสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นผลประโยชน์ที่ไม่เป็นตัวเงิน นั้นพบว่ามีผลประโยชน์วงนอกที่เกิดขึ้นสูงกว่าต้นทุน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น